BTS SINCE 1999

END TAG TEAM < / >





INTRODUCTION




รถไฟฟ้าบีทีเอส (Bangkok (Mass) Transit System Skytrain - BTS Skytrain) เป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดปทุมธานี โดยเริ่มเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เนื่องจากการจราจรในกรุงเทพมหานคร ติดขัดอย่างหนัก เพราะปริมาณรถยนต์ที่สะสมเพิ่มมากขึ้นในทุกๆปี รถไฟฟ้าบีทีเอสเปิดให้บริการ 2 สายคือ รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ สาย 1 หรือ สายสุขุมวิท ("สายสีเขียวอ่อน" ระยะทาง 17 กิโลเมตร เมื่อแรกเปิดให้บริการและอีก 18.1 กิโลเมตร สำหรับส่วนต่อขยาย) และรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ สาย 2 หรือ สายสีลม ("สายสีเขียวเข้ม" ระยะทาง 6.5 กิโลเมตร เมื่อแรกเปิดให้บริการและอีก 8.17 กิโลเมตร สำหรับส่วนต่อขยาย) โดยมีสถานีทั้งหมด 43 สถานี (นับสถานีเชื่อมต่อเป็นสถานีเดียว, ไม่รวม 2 สถานีโครงการในอนาคต) เชื่อมต่อทั้ง 2 สาย ที่สถานีสยาม และรวมระยะทางทั้งสิ้น 51.69 กิโลเมตร

DID YOU KNOW

ABOUT PROJECT




จากการใช้บริการรถไฟฟ้า BTS อยู่บ่อยครั้ง เราจะเห็นได้ว่าจำนวนผู้โดยสารที่มาใช้บริการรถไฟฟ้า BTS นับวันยิ่งมากขึ้น เป็นผลทำให้ในบางเที่ยวขบวนรถนั้นจะต้องใช้เวลายืนรอนานหลายสิบนาที ในขณะที่ขบวนรถวิ่งผ่านไปมาหลายเที่ยว เนื่องจากขบวนนั้นๆเต็ม แสดงว่าจำนวนผู้โดยสารแต่ละวันนั้นจะต้องมีจำนวนเยอะมากขนาดไหน เพราะรถหนึ่งขบวนสามารถจุผู้โดยสารได้มากกว่า 1,000 คนและยังมีหลายเที่ยวขบวนเพียง 5-10 นาทีเท่านั้น จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการทำโปรเจคต์นี้ว่าตั้งแต่เริ่มต้นเปิดให้บริการ(ปี พ.ศ. 2542) รถไฟฟ้า BTS นั้นในช่วงใดบ้างที่จะมีผู้โดยสารมาใช้บริการน้อยลงกว่าปกติ และถ้ามีจริงจะมีเหตุผลหรือเหตุการณ์ใดบ้างที่อาจจะส่งผลกระทบต่อยอดผู้ใช้งานรถไฟฟ้า BTS ในช่วงเวลานั้นๆ โดยการนำยอดผู้ใช้งาน แล้วนำเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ และปริมณฑลมาวิเคราะห์เพื่อหาเหตุผลที่เกิดขึ้น รวมถึงการวิเคราะห์แนวโน้มของผู้โดยสารที่มาใช้บริการในอนาคต

TOTAL RIDERSHIP GRAPH






ANALYSIS

จากการนำข้อมูลจำนวนผู้โดยสารรวมในแต่ละเดือนมา plot line graph เป็นกราฟแยกทั้งหมด 20 ปีนับตั้งแต่เริ่มเปิดให้ใช้บริการนั้นเราจะได้ข้อมูลที่น่าสนใจคือ มีความชันของกราฟช่วงเวลาหนึ่งตกลงมากถึง -40.1% ซึ่งสามารถสังเกตได้อย่างชัดเจนจากกราฟปี 2010 (Total Ridership of BTS 2010) ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่ามี การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ที่แยกราชประสงค์และจุดต่างๆทั่วกรุงเทพ ทำให้รถไฟฟ้าบีทีเอสนั้นต้องปิดการให้บริการประชาชนในบางสถานีระหว่างมีการชุมนุม เช่น สถานีสยาม สถานีราชดำริ และได้หยุดการให้บริการทั้งระบบในบางช่วงเวลา เนื่องจาก นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช. กล่าวว่า ถ้ามีการขนทหารมาฆ่าประชาชนทางรถไฟฟ้าจะทำให้รถไฟตกรางเป็นเรื่องง่ายมาก

ซึ่งนอกจากเหตุการณ์ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ก็ยังมีอีกหลายเหตุการณ์ที่ก็ส่งผลกระทบเช่นกัน (ในกราฟอาจจะไม่ชัดเจนเพราะยอดผู้ใช้บริการไม่ได้ลดลงไปมากนัก) ตัวอย่างเช่น เกิดอุทกภัยในประเทศไทย 2011 เริ่มตั้งแต่ปลาย เดือนกรกฎาคม และสิ้นสุดเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2012, เกิดรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2014 นำโดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในเวลา 16:30 น. และเป็นรัฐประหารครั้งที่ 13 ในประวัติศาสตร์ไทย หลังจากเกิดวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศนานหลายเดือน เป็นต้น

TOTAL RIDERSHIP PER YEAR GRAPH





ANALYSIS

จากการนำข้อมูลยอดผู้โดยสารรวมต่อปีมา plot bar graph จะเห็นได้ว่าแนวโน้มของการใช้ระบบขนส่งมวลชนจะเพิ่มขึ้นเกือบทุกๆปี ถึงแม้ว่าจากการ plot line graph ด้านบนนั้นจะมีบางช่วงที่ยอดผู้ใช้งานลดลงไปเพราะเหตุการณ์ทางการเมือง แต่ดูเหมือนจะไม่ได้มีผลกระทบมากนัก และยิ่งปัจจุบันนั้นก็ได้เริ่มก่อสร้างรถไฟฟ้าสายใหม่ และต่อขยายเพิ่มเติมแล้วด้วยนั้น จึงคาดว่าอนาคตจะมียอดผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นเพราะ นอกจากเป็นช่องทางการเดินทางที่สะดวกในช่วงเวลาเร่งรีบแล้วถ้าในอนาคตมีสายการให้บริการเพิ่มขึ้นก็ยิ่งลดความแออัดลงด้วยเช่นกัน และผลพลอยได้ที่ตามมาคือมันช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่งด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุผลเหล่านี้จึงทำให้น่าจะมีผู้คนหันมาใช้บริการรถไฟฟ้า BTS มากขึ้นแทนการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล

OUR TEAM

Suphakit Nachom

61070250

Thivawat kaewdungdee

61070066

Sirawit Pokha

61070242